คำถามที่พบบ่อย

DNAimaging™ Prenatal Test

ถาม
หากบุคคลในครอบครัวไม่มีประวัติโรคทางพันธุกรรมในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ทารกในครรภ์จะมีโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติของโครโมโซมในกลุ่มอาการนี้ได้หรือไม่ ?
ตอบ
มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะนอกจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์จะให้กำเนิดบุตรที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้น คือ อายุของผู้เป็นแม่ ยิ่งผู้ที่ตั้งครรภ์มีอายุมากขึ้น ความเสี่ยงที่จะมีบุตรเป็นดาวน์ซินโดรมก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

ถาม
อายุครรภ์มีผลต่อการตรวจวิเคราะห์หรือไม่ และสตรีผู้ตั้งครรภ์สามารถรับบริการได้ตั้งแต่อายุครรภ์กี่สัปดาห์ ?
ตอบ
อายุครรภ์มีผลต่อการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งสตรีผู้ตั้งครรภ์สามารถรับบริการได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไปจนคลอดสำหรับครรภ์เดี่ยว และตั้งแต่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไปจนคลอดสำหรับครรภ์แฝด อย่างไรก็ตามสูตินรีแพทย์ส่วนมากจะนิยมให้คนไข้ตรวจในช่วงอายุครรภ์ 10-20 สัปดาห์ เนื่องจากหากผลเป็นความเสี่ยงสูง แพทย์จะต้องทำการตรวจวินิจฉัยยืนยันอีกครั้ง

ถาม
สัดส่วน Fetal fraction มากหรือน้อย มีผลต่อการตรวจวิเคราะห์หรือไม่ ?
ตอบ
มีผลต่อการตรวจวิเคราะห์ หาก Fetal fraction ต่ำกว่า 2 % จะไม่สามารถให้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่มีความแม่นยำได้

ถาม
ผลบวกลวง (False positive) คืออะไร ?
ตอบ
ผลบวกลวง คือ ทารกในครรภ์ไม่มีโรคทางพันธุกรรมแต่ผลการตรวจวิเคราะห์รายงานความผิดปกติของโครโมโซม ผลบวกลวงนี้สามารถพบได้ในทุกเทคนิคของการตรวจวิเคราะห์ แต่อัตราการเกิดผลบวกลวงจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเทคนิคและเทคโนโลยีที่ใช้

ถาม
กรณีแฝดสามหรือมากกว่า สามารถตรวจวิเคราะห์ด้วย DNAimaging™ Prenatal Test ได้หรือไม่ ?
ตอบ
กรณีแฝดสามหรือมากกว่า ไม่สามารถตรวจได้ เนื่องจากยังไม่มีฐานข้อมูลที่มากพอสำหรับการตรวจวิเคราะห์

ถาม
ก่อนเข้ารับการเจาะเลือดเพื่อตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ ต้องงดน้ำงดอาหารหรือไม่ ?
ตอบ
ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร

ถาม
หากไม่มีใบส่งตัวจากแพทย์ สามารถเข้ารับบริการได้หรือไม่ ?
ตอบ
ตอบ หากลูกค้ามีความประสงค์ต้องตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์  สามารถเข้ารับบริการได้ทุกสาขา โดยไม่ต้องมีใบส่งตัวจากแพทย์ (สามารถติดต่อสอบได้ที่ โทรศัพท์ 02-953-8641 มือถือ 091-945-4926)
 

DNAimaging™ Onco Test

ถาม
หากบุคคลในครอบครัวไม่มีประวัติโรคทางพันธุกรรมในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ทารกในครรภ์จะมีโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติของโครโมโซมในกลุ่มอาการนี้ได้หรือไม่ ?
ตอบ
ไม่ใช่ แต่หมายความว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งมากกว่าคนอื่น* และยังมีโอกาสถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
( * แนะนำให้ตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ)

ถาม
ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ต่างกันหรือไม่ ?
ตอบ
ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งได้เท่าๆกัน แต่ผู้ชายเป็นมะเร็งมากในช่วงที่อายุสูงกว่าผู้หญิง
ซึ่งผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป มีเพียงร้อยละ 78.83 ในขณะที่ผู้ชายมีมากถึงร้อยละ 83.77

ถาม
Targeted Therapy คืออะไร ?
ตอบ
Targeted Therapy คือ การเลือกใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็งให้กับผู้ป่วยแต่ละราย

ถาม
ผู้ชายสามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้หรือไม่ ?
ตอบ
สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้ แม้ว่าผู้ชายจะไม่มีเต้านมที่ชัดเจนเหมือนผู้หญิง แต่ก็มีเนื้อเยื่อเต้านมอยู่จึงทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมชนิดเดียวกับผู้หญิงได้